ทำไมต้อง “เหล็กมาตรฐานอุตสาหกรรม” ?
ในยุคปัจจุบันที่ทุกคนสามารถที่จะเข้าหาแหล่งของข้อมูลได้ง่ายและมากมายขึ้น ความชัดเจนและโปร่งใสสามารถที่จะทำการตรวจสอบได้ง่ายขึ้น หากแต่ยังมีอุตสาหกรรมหนึ่งที่พบว่าปัญหาด้านของความโปร่งใสยังเป็นปัญหาตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน นั้นคือ อุตสาหกรรมเหล็กไทย
จากข่าวคราวแง่ลบมากมายที่เกี่ยวกับ “เหล็ก” ไม่ว่าจะเป็น เหล็กไม่ตรงกับสเปคที่ต้องการ เหล็กน้ำหนักเบา ย้อมแมวเหล็กเก่าเอามาทำสีแล้วขายเป็นเหล็กใหม่ ไปจนถึงมีการยัดไส้ภายในเหล็ก (ใช้ปูนสอดไส้ข้างใน) ซึ่งปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้เจ้าของบ้านอาจจะไม่ทราบมาก่อนเพราะเป็นโครงสร้างที่ก่อสร้างเมื่อนานมาแล้ว จะมาพบปัญหาก็เมื่ออายุไขของบ้านผ่านไปหลายสิบปี หรือเกิดภัยพิบัติตามธรรมชาติ ถึงจะปรากฎความเสียหายส่งผลอันตรายต่อทรัพย์สินจนไปถึงชีวิตได้
คำถามถัดมาคือ “แล้ววงการเหล็กมีความเข้มงวดในการตรวจสอบที่มากขึ้นไหม?”.... ก็อาจจะตอบได้ว่า ก็ดีขึ้นแต่ไม่ได้ดีที่สุด เพราะเจ้าของบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้มีเวลาตรวจดูงานอยู่ตลอด อีกทั้งงานเหล็กโดยมากจะเป็นงานโครงสร้าง เช่น ฐานราก ตอม่อ เสา คาน ต่าง ๆ นานา ที่เจ้าของบ้านไม่สามารถตรวจสอบได้ง่าย ๆ ทำให้เหล็กที่ใช้กันทั่วไปเลยปะปนด้วยเหล็กที่ทั้งมีมาตรฐาน และไม่มีมาตรฐาน
กอปรกับร้านค้าปลีกเหล็กส่วนใหญ่นับตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน มักคุ้นชินกับการขายเหล็กไม่ตรงความหนาจริง นั้นคือมักมีความหนาน้อยกว่าสเปคที่แจ้งลูกค้า หรือน้ำหนักเหล็กที่เบากว่าความเป็นจริงที่สเปคเหล็กควรจะเป็น จึงทำให้โครงสร้างของบ้านหลาย ๆ หลังไม่แข็งแรง เกิดเป็นปัญหาต่าง ๆ ในอนาคต
ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันรัฐบาลได้ออกกฎหมายเพื่อคุมเข้มร้านขายเหล็ก ร้านวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ ให้มีการขายเหล็กที่ถูกต้องตามสเปคและน้ำหนักเหล็กที่ควรจะเป็น แต่ปัญหาของการโกงสเปคเหล็กก็ยังพบเห็นได้มากมาย “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ในฐานะของร้านขายเหล็กที่มีประสบการณ์ในวงการเหล็กกว่า 30 ปี รู้สึกห่วงใยต่อปัญหาการโกงสเปคเหล็กที่ลูกค้าหลาย ๆ ท่านกำลังเผชิญ วันนี้ “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” จึงขอให้ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ต่าง ๆ ของเหล็กที่มีมาตรฐาน ทั้งนี้ เหล็กมาตรฐานที่ได้รับรองของ “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” จะมีการตีตรา หรือทำสัญลักษณ์ไว้ที่ด้านข้างของเหล็ก พร้อมกับมีเอกสารที่เสมือนเป็นใบสูจิบัตร ที่ยืนยันว่าเหล็กเหล่านี้คือ “เหล็กมาตรฐานอุตสาหกรรม”
...........................................................................................
1. TIS (Thai Industrial Standard) หรือ มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
TIS เป็นมาตรฐานของประเทศไทยที่ออกโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นประเภทมาตรฐานที่เราจะพบเห็นได้มากที่สุด โดยกว่า 40% ของเหล็กภายใน “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ได้รับการรับรองหรือตีตราจาก TIS นี้เอง
...........................................................................................
2. JIS (Japanese Industrial Standard)
JIS เป็นมาตรฐานของญี่ปุ่นที่ออกโดย Japanese Industrial Standards Committee (JISC) พบเห็นได้เป็นอันดับที่สอง รองจาก TIS โดยประมาณ 35% ของเหล็กมาตรฐานภายใน “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ได้รับการรับรองจาก JIS
...........................................................................................
3. ASTM (American Society for Testing and Materials)
ASTM เป็นสำนักงานที่รับรองมาตรฐานจากอเมริกาเหนือและออกใบรับรองนาม AISI/SAE โดยส่วนใหญ่ตราของ ASTM นี้มักถูกตีตราสินค้าจำพวก ท่อสตีมเหล็ก SCH40 หรือ อุปกรณ์สตีมเชื่อมเหล็ก ประมาณ 20% ของเหล็กมาตรฐานภายใน “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ได้ถูกตีตรารับรองในนามของ ASTM
...........................................................................................
4. DIN (Deutsches Institut Fur Normung)
DIN เป็นสำนักงานที่รับรองมาตรฐานจากประเทศเยอรมัน หากว่ามีการรับรองจะออกเป็นเลขจาก DIN ISO มาตรฐานนี้มักพบเห็นได้น้อย ประมาณ 5% ของเหล็กมาตรฐานภายใน “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” จะตีตราด้วยสัญลักษณ์ DIN ซึ่งแม้จะพบเห็นได้ค่อนข้างน้อยแต่ DIN ก็ยังเป็นมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน
...........................................................................................
ทั้งนี้แม้ว่าสินค้าในหลายๆรายการจะยังไม่มีการรับรองของมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่ “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” ได้คำนึงถึงความยั่งยืน ความปลอดภัย และส่งมอบคุณภาพที่ดีที่สุดให้แก่ช่างก่อสร้าง ช่างรับเหมา ตลอดเจ้าของบ้านทุกท่าน “ร้านเหล็กมาบุญยงค์” จึงต้องบอกความหนาที่แท้จริงให้แก่ลูกค้าทุกท่านได้ทราบก่อนทำการตัดสินใจสั่งซื้อเหล็ก เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพในการใช้งาน
หากคุณลูกค้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปค ขนาด การใช้งาน สินค้าประเภทแผ่นโลหะหรือสินค้าอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line @maboonyong หรือเบอร์ 02-090-2587 ‘ร้านเหล็กมาบุญยงค์’ ยินดีให้คำแนะนำข้อมูลครับ
นที พนมโชคไพศาล
(รองประธาน บริษัท มาบุญยงค์กรุ๊ป จำกัด)
...........................................................................................