ไวร์เมช (Wire meshes)
เขียนเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563
อะไรคือไวร์เมช (Wire meshes)
บทสรุปอย่างย่อ ..
- ไวร์เมช (Wire mesh) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ ตะแกรงแบบเชื่อมชน (Welded Wire Mesh) และ ตะแกรงแบบสาน (Woven Wire Mesh) ซึ่งหากว่าลูกค้าของ ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ได้กล่าวถึงไวร์เมชก็มักหมายถึงประเภทแบบเชื่อมชน (Welded Wire Mesh) นั่นเอง
- โดยทั่วไป 'ไวร์เมช' จะใช้ในงานโครงสร้างพื้นคอนกรีต ทำหน้าที่รับน้ำหนักที่กระทำกับพื้น แล้วกระจายน้ำหนักไปที่คาน และเสาเป็นลำดับไป
- ร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้างทั่วไป นิยมจำหน่ายเฉพาะ ‘ไวร์เมชเหล็กเส้นกลม’ ซึ่งแตกต่างจาก ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ที่มีจำหน่ายทั้งแบบ ‘ไวร์เมชเหล็กเส้นกลม’ และ ‘ไวร์เมชเหล็กข้ออ้อย’ โดยข้อดีของไวร์เมชเหล็กข้ออ้อยคือช่วยเรื่องการยึดเกาะระหว่างเหล็กและคอนกรีตได้ดียิ่งขึ้น
...........................................................................................
รายละเอียดเกี่ยวกับไวร์เมช
สำหรับลูกค้าหลาย ๆ ท่านของ ร้านเหล็กมาบุญยงค์ หากพูดถึง ‘ไวร์เมช’ นั้น ส่วนมากมักคิดถึงภาพของม้วนตะแกรงขนาดใหญ่ที่กว้างประมาณ 50 ตรม. ซึ่งเมื่อนำไปคลี่ออกจะได้ตะแกรงเหล็กตาสี่เหลี่ยมจัตุรัสสำหรับปูเป็นโครงสร้างพื้นคอนกรีต เพื่อใช้ในการรับน้ำหนักต่าง ๆ เช่น พื้นบ้าน พื้นอาคาร พื้นถนน เป็นต้น หากแต่ว่าความหมายที่แท้จริงของ ‘ไวร์เมช’ นั้นคืออะไร ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ขออธิบายความหมายของ ‘ไวร์เมช’ ผ่านบทความนี้
คำว่า ‘ไวร์เมช’ นั้นเป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษคือ ‘Wire Mesh’ แปลว่า ลักษณะของโลหะที่ประสานกันอย่างต่อเนื่อง โดยที่แนวของการประสานจะมีทั้งแนวระนาบ (แนวนอน) และแนวตัดขวาง (แนวตั้ง) ให้มีระยะห่างของช่องว่างที่เท่ากันอย่างสม่ำเสมอ หรือกล่าวสั้นๆ ‘ตะแกรง’ นั่นเอง จึงบอกได้ว่า ‘ไวร์เมช’ ไม่ได้จำกัดแค่แผ่นตะแกรงที่ใช้ในงานพื้นอย่างที่ลูกค้า ร้านเหล็กมาบุญยงค์ เข้าใจกันอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมไปถึงตะแกรงแบบอื่น ๆ ด้วย ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทหลักๆ คือ ตะแกรงแบบเชื่อมชน (Welded Wire Mesh) ที่ใช้ในงานโครงสร้างพื้นตามที่ลูกค้าเข้าใจกัน กับตะแกรงแบบสาน (Woven Wire Mesh) ที่ใช้ในงานรั้วหรืองานที่ต้องการกั้นสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เช่น รั้วกันนก กรงสำหรับกักเก็บสุนัขหรือแมว เป็นต้น
ร้านเหล็กมาบุญยงค์ เลยขอสรุปคร่าวๆว่า ‘ไวร์เมช’ ในภาษาช่างเทคนิคหรือภาษาตามที่ลูกค้าเข้าใจ ก็คือ ตะแกรงเหล็กซึ่งทำหน้าที่สำหรับการถ่ายโอนน้ำหนักจากส่วนบนของผิวพื้น เช่น น้ำหนักคนอยู่อาศัยหรือน้ำหนักรถยนต์ ซึ่งน้ำหนักผิวบนของพื้นจะถูกรองรับด้วย ‘ไวร์เมช’ แล้วกระจายน้ำหนักออกไปยังคาน และเสาที่รับน้ำหนักในขั้นต่อไป ฉะนั้นหากว่าพื้นแผ่นไหนที่ไม่มีโครงสร้างตะแกรงเหล็กหรือ ‘ไวร์เมช’ ในการรองรับน้ำหนัก ย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่โครงสร้างของพื้นโดยตรงอย่างแน่นอน
ส่วนชนิดของลวดที่นำทำเป็น ‘ไวร์เมช’ นั้น ประกอบด้วยกัน 2 ชนิดหลัก คือ
1. แบบลวดเหล็ก ‘เส้นกลมก่อสร้าง’ (Round Bar)
2. แบบลวด ‘ข้ออ้อยก่อสร้าง’ (Deformed Bar)
โดยทั่วไปของร้านวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ มักจะนิยมขายเป็นแบบลวด ‘เส้นกลม’ (Round Bar) เนื่องจากขนาดของม้วน ‘ไวร์เมชเส้นกลม’ จะมีขนาดที่เล็กกว่าม้วน ‘ไวร์เมชข้ออ้อย’ ทำให้การเก็บสต๊อกนั้นง่ายและเก็บได้ปริมาณที่เยอะกว่า ซึ่งข้อเสียของการใช้ ‘ไวร์เมชเส้นกลม’ ในงานโครงสร้างคือ ผิวสัมผัสของเหล็กและคอนกรีตจะยึดเกาะได้ไม่ดีนัก แตกต่างจากการใช้ ‘ไวร์เมชข้ออ้อย’ ที่ผิวสัมผัสระหว่างเหล็กกับคอนกรีตที่มากกว่าเนื่องมาจากส่วนของ บั้งเหล็กหรือครีบเหล็กข้ออ้อย ทำให้แผ่นพื้นโครงสร้างมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น ลดโอกาสการแตกร้าวหรือการแตกลายงาต่าง ๆ ได้
เนื่องด้วยพื้นที่เก็บสินค้าของ ร้านเหล็กมาบุญยงค์ นั้นมีขนาดที่กว้างขวางสามารถเก็บได้ทั้งแบบ ‘ไวร์เมชเส้นกลม’ และ ‘ไวร์เมชข้ออ้อย’ ได้ในปริมาณมาก สามารถตอบโจทย์แก่ลูกค้าได้ทุกคน ทั้งแบบม้วนใหญ่พื้นที่ 40-50 ตรม. และแบบแผงย่อย 10 ตรม. ซึ่งทำให้การคำนวณปริมาณใช้งาน ‘ไวร์เมช’ ได้อย่างพอดีหรือเกิดเศษเหลือจากการใช้งานที่น้อยสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ลดโอกาสของการขาดทุนจากวัสดุที่เกินแก่ความจำเป็นของลูกค้าด้วย
สินค้าใหม่ !!
เหล็กไวร์เมชข้ออ้อย ขนาดเส้นลวด 9mm (ตา 20 x 20cm แผ่นขนาด 5 x 2m)
...........................................................................................
ร้านเหล็กมาบุญยงค์ จำหน่ายไวร์เมชชนิดเส้นกลม และชนิดเส้นข้ออ้อยหลากหลายขนาด เพื่อตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกประเภท และมีสต็อคสินค้าจำนวนมากพร้อมจำหน่ายให้กับลูกค้าทุกท่านในทันที ไม่ต้องเสียเวลารอของจากโรงงานผลิตหลายวัน
หากคุณลูกค้ามีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเปค ขนาด การใช้งาน สินค้าประเภทไวร์เมชหรือสินค้าอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ Line @maboonyong หรือเบอร์ 02-090-2587 ร้านเหล็กมาบุญยงค์ ยินดีให้คำแนะนำข้อมูลครับ
นที พนมโชคไพศาล
(รองประธาน บริษัท มาบุญยงค์กรุ๊ป จำกัด)
...........................................................................................